ไข่ปลา
ไข่ปลา หรือ จุดไข่ปลา (...)
ใช้ละข้อความข้างท้ายที่ไม่จำเป็นหรือไม่ต้องการกล่าวถึง เพื่อแสดงว่าตัดตอนข้อความนั้นมาเพียงบางส่วน โดยต้องใส่จุดอย่างน้อย ๓ จุด
สำหรับในบทร้อยกรอง ถ้าจะละข้อความตั้งแต่ ๑ บรรทัดขึ้นไป ให้ใช้จุดไข่ปลายาวตลอดบรรทัด แต่ถ้าจะเน้นฉันทลักษณ์ก็สามารถใส่จุดไข่ปลาตามรูปแบบฉันทลักษณ์ได้
ใช้เพื่อแสดงว่ามีข้อความ แต่ข้อความนั้นลบเลือนหรือขาดหายไป และยังไม่สามารถหาหลักฐานมาประกอบหรือยืนยันได้ เช่น ข้อความในศิลาจารึก เป็นต้น
ใช้ในแบบพิมพ์ต่าง ๆ ซึ่งเว้นช่องว่างไว้สำหรับให้กรอกข้อความ ความยาวของจุดไข่ปลาขึ้นอยู่กับความยาวของข้อความที่ต้องกรอก
จุลภาค
จุลภาค (,)
ใช้คั่นจำนวนเลขนับจากหลักหน่วยไปทีละ ๓ หลัก
ใช้แยกคำ ข้อความย่อย หรือประโยคย่อยให้เด่นชัดขึ้น เพื่อกันความสับสน
ใข้คั่นคำในรายการที่เขียนต่อ ๆ กันตั้งแต่ ๓ รายการขึ้นไป กรณีที่รายการสุดท้ายมีคำ "และ" หรือ "หรือ" อยู่หน้าคำ ไม่ต้องใส่จุลภาคหลังรายการรองสุดท้าย
ใช้ในการเขียนบรรณานุกรม ดัชนี และนามานุกรม โดยเขียนคั่นเมื่อมีการสับที่ระหว่างนามสกุลกับชื่อ, ระหว่างชื่อ-สกุล กับคำนำหน้านาม หรือยศ, ระหว่างราชทินนาม กับบรรดาศักดิ์ ฐานันดรศักดิ์ หรือสมณศักดิ์
ใช้ในพจนานุกรม เขียนคั่นความหมายหรือบทนิยามของคำที่มีความหมายหลาย ๆ อย่าง แต่ความหมายคล้าย ๆ กัน
ใช้แสดงมาตราส่วนในแผนที่
ใช้แสดงอัตราส่วน
ใช้แสดงสัดส่วน
ใช้แสดงส่วนเปรียบในวิชาคณิตศาสตร์
ใช้ไขความ แทนคำว่า "คือ"
ใช้เขียนหลังคำ "ดังนี้" "ดังต่อไปนี้" เป็นต้น เพื่อแจกแจงรายการ
ใช้ขีดหลังจำนวนเลขเพื่อแบ่งจำนวนย่อยออกจากจำนวนใหญ่
ใช้ขีดคั่นระหว่างเลขบอกลำดับกับเลขศักราช
ใช้ขีดคั่นระหว่างตัวเลขแสดงวัน เดือน ปี
ใช้ขีดคั่นระหว่างคำ "และ" กับ "หรือ" เป็น "และ/หรือ" หมายถึงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างก็ไ้ด้
ใช้ขีดคั่นระหว่างคำ แทนคำว่า "หรือ" หมายถึง อย่างใดอย่างหนึ่ง
ใช้ขีดคั่นระหว่างคำ มีความหมายว่า "ต่อ"
ในขลิขิต
นขลิขิตหรือวงเล็บ ( )
ใช้กับข้อความที่อธิบายไว้เพื่อช่วยให้ชัดเจนขึ้น
ใช้กับข้อมูลบางอย่างเพื่อเตือนความจำ
ใช้คร่อมนามเต็มที่เขียนไว้ใต้ลายเซ็น
ใช้คร่อมตัวเลขหรือตัวอักษรที่เป็นหัวข้อบอกเชิงอรรถ
ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ หรือเขียนสูตรเคมีเพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขหรือสัญลักษณ์
ใช้เมื่อสิ้นสุดประโยคคำถาม
ใช้หลังข้อความที่แสดงความสงสัยหรือไม่แน่ใจ มักใส่เครื่องหมายไว้ในวงเล็บ
ไปยาลน้อย
ไปยาลน้อย (ฯ)
ใช้ละบางส่วนของคำ โดยมากใช้สำหรับชื่อเฉพาะหรือสำนวนที่รู้จักกันดี
ไปยาลใหญ่
ไปยาลใหญ่ (ฯลฯ)
ใช้ละคำที่มีอีกมากเพื่อประหยัดเวลาและหน้ากระดาษ
[]มหัพภาค
มหัพภาค (.)
ใช้เขียนไว้หลังตัวอักษรเพื่อแสดงให้รู้ว่าเป็นอักษรย่อ
ใช้เขียนหลังจากจบข้อความหรือประโยค
ใช้เขียนหลังตัวเลขหรืออักษรที่บอกลำดับข้อ
ใช้เขียนคั่นระหว่างชั่วโมงกับนาทีเพื่อบอกเวลา
ใช้เขียนแสดงทศนิยมในจำนวนเลข เช่น
ใช้เขียนแสดงจำนวนทศนิยมไม่รู้จบ
ใช้แทนเครื่องหมายคูณในวิชาคณิตศาสตร์
ใช้คั่นสูตรเคมีเพื่อแสดงสูตรของสารประกอบในสารประกอบเชิงซ้อน
ไม้ยมก
ไม้ยมก (ๆ) มีวิธีใช้ดังนี้
ใช้เพื่อซ้ำคำ
ใช้เพื่อซ้ำวลี
ใช้เพื่อซ้ำประโยค
ข้อยกเว้น
ไม่ใช้ไม้ยมกในกรณีต่อไปนี้
คำเดิมที่ทำหน้าที่ต่างกันไม่ใช้ไม้ยมก
ในการเขียนคำประพันธ์ไม่ใช้ไม้ยมกในคำซ้ำกัน
คำว่า นานา ไม่ใช้ไม้ยมก
ยัติภังค์
ยัติภังค์ (-)
ใช้ใส่เมื่อต้องแยกคำ เนื่องจากมาอยู่ตรงสุดบรรทัด แล้วไม่สามารถบรรจุคำเต็มได้
ใช้ใส่ไว้ท้ายวรรคหน้าของบทร้อยกรองเพื่อต่อพยางค์หรือคำที่ต้องเขียนคาบวรรคกัน เพื่อให้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์
ใช้เขียนแยกพยางค์ เพื่อบอกคำอ่าน
ใช้ในพจนานุกรม เพื่อแสดงว่าคำนั้นมีคำอื่นมาต่อท้าย, เพื่อแทนคำอ่านของพยางค์ที่ไม่มีปัญหาในการออกเสียง, เพื่อใช้แทนส่วนหน้าของคำคู่ที่ละส่วนหน้าไว้และเพื่อใช้แทนคำที่มาจากข้างต้นที่ละไว้โดยไม่ต้องเขียนซ้ำ มักใช้ในกรณีที่เป็นรายการชุดเดียวกัน
ใช้ในความหมายว่า "และ" หรือ "กับ"
ใช้แทนความหมายว่า "ถึง" เพื่อแสดงช่วงเวลา จำนวน สถานที่ ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น