วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

การใช้ภาษาบทความในนิตยสาร




1. บทบรรณาธิการ

1.1 ผู้เขียน ผู้เขียนบทบรรณาธิการโดยทั่วไปก็คือบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ หรือนิตยสารฉบับนั้น ๆ นิตยสารมีบรรณาธิการเป็นผู้เขียนบทบรรณาธิการเพียงผู้เดียว

1.2 เนื้อหา บทบรรณาธิการในนิตยสารมีเนื้อหาที่ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์หรือข่าว
ที่เกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วนเหมือนบทบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ แต่เป็นการแสดงความคิดเห็นในเรื่องทั่วไป เรื่องที่อยู่ในกระแสนิยมหรือเป็นการมองการณ์ไกลถึงอนาคต หรือสะท้อนนโยบายหรือจุดยืนของนิตยสารในเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็ได้

1.3 การใช้ภาษา การใช้ภาษาในบทบรรณาธิการนิตยสารบางฉบับอาจมีความเป็นทางการ หรือความขึงขัง จริงจัง น้อยกว่าบทบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ บางครั้งจะพบว่าบรรณาธิการใช้ภาษากึ่งทางการหรือภาษาสนทนาที่เป็นกันเองกับผู้อ่าน เช่น การแทนตัวผู้เขียนว่า “ผม” หรือ “ดิฉัน” เป็นต้น นอกจากนี้บทบรรณาธิการนิตยสารจะลงชื่อหรืออาจมีลายเซ็นของบรรณาธิการนิตยสารซึ่งเป็นผู้เขียนในส่วนท้ายของบทด้วย ซึ่งแตกต่างจากบทบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ ที่จะไม่ระบุชื่อผู้เขียน

2. บทวิเคราะห์และบทวิจารณ์


 ลีลาการใช้ภาษาในบทวิเคราะห์และบทวิจารณ์ในนิตยสารจำแนกออกได้ 3 ลักษณะ คือ

2.1 แบบจริงจัง ตรงไปตรงมา เป็นการวิเคราะห์หรือวิจารณ์ปรากฏการณ์ หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นโดยมุ่งเน้นการตีความหรือแจกแจงประเด็นของเรื่อง ใช้เหตุและผลตามหลักการหรือวิชาการ และชี้แนะแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างตรงไปตรงมา มักใช้สำนวนโวหารเชิงบรรยาย อธิบายความ แจกแจงมากกว่าจะใช้สำนวนโวหารแบบพรรณนาความเปรียบ ให้เห็นภาพพจน์ (figure of speech)

2.2 แบบประชดประชันเสียดสี คือการใช้ภาษาแบบกระทบกระเทียบ เปรียบเปรย หรือ
ในลักษณะเสียดสีประชดประชัน โดยไม่วิเคราะห์วิจารณ์หรือกล่าวตำหนิโดยตรง แต่มุ่งใช้สำนวนโวหารเชิงพรรณนาความเปรียบหรือเขียนวิจารณ์เชิงแดกดันเพื่อแสดงความหมายนัยประหวัดมากกว่านัยตรง จนบางครั้งผู้อ่านไม่เห็นสิ่งที่เสียดสีไว้ก็มี

2.3 แบบสนุกสนาน คือการเขียนโดยนำประเด็นที่ต้องการวิเคราะห์วิจารณ์มากล่าวถึงโดยเป็นการพูดถึงเชิงทีเล่นทีจริง ไม่รุนแรง เป็นลักษณะหยิกแกมหยอก และใช้ภาษากึ่งตลกขบขัน
ทั้งภาษาพูดและภาษาสแลงผสมผสานกันไป หรือใช้โวหารสร้างภาพพจน์จูงใจให้ผู้อ่านรู้สึกเพลิดเพลิน
ลีลาการใช้ภาษาในบทวิเคราะห์วิจารณ์ของผู้เขียนแต่ละคนแต่จะไม่เหมือนกัน แต่สิ่งที่ควรจะมีเหมือนกันก็คือการใช้ภาษาที่อ่านเข้าใจง่าย เพราะหนังสือพิมพ์และนิตยสารมีคนอ่าน
ทุกระดับทำให้ต้องสื่อความหมายกับคนทุกกลุ่ม การใช้ภาษาที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์แม้จะเป็นเรื่องสำคัญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น