วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

การใช้ภาษาในหนังสือพิมพ์




      การใช้ภาษาในหนังสือพิมพ์มีลักษณะแตกต่างจากภาษามาตรฐานอยู่บ้างในด้านของการเสนอ ข่าวโดยเฉพาะ ข่าวหน้าหนึ่ง ซึ่งพอจะสรุปลักษณะสำคัญในการใช้ภาษาได้ดังนี้

1. ใช้ถ้อยคำง่าย ๆ เรียบเรียงถ้อยคำกระชับ รัดกุม สะดุดตา
2. ใช้ถ้อยคำแปลก ๆ เรียกร้องความสนใจ
3. ไม่เคร่งครัดการสะกดการันต์และการใช้ลักษณนาม
4. ใช้เครื่องหมายต่าง ๆ เพื่อเน้นความหมายของคำ
5. นิยมใช้คำคะนอง ศัพท์แสลงและอักษรย่อ
6. ใช้คำโดยแปลกความหมาย ไม่คำนึงถึงความหมายเดิม
7. ใช้คำผิดความหมาย และใช้คำฟุ่มเฟือย
8. ใช้คำโดยไม่คำนึงถึงระบบของภาษา และหน้าที่ของคำ
9. นิยมใช้คำสำนวนต่างประเทศ
10. ไม่เคร่งครัดแบบแผนของประโยค มักละประธานและคำขยาย

    วิเศษ ชาญประโคน (2550, หน้า 50-55) อธิบายว่า หนังสือพิมพ์มีข้อจำกัดในเรื่อง ของเวลาภาษาหนังสือพิมพ์จึงมีลักษณะเฉพาะต่างจากภาษาในวงการอื่นดังนี้ คือ

  1. ใช้ภาษาแปลกใหม่เพื่อให้สะดุดตาสะดุดใจและจำง่าย โดยเฉพาะส่วนพาดหัวข่าว ตัวอย่าง 

“ทักษิณ” กั๊ก “อภิรักษ์” ตีกิน
“จับ 2 โจ๋ มือฆ่าหลวงพ่อดำ”
“มหาชนโวย สั่ง ขรก. รับ”
“มุ้ง ทรท. ลุ้นแม้ว ปรับ ครม. ปลดยี้”

    2. มีการใช้ภาษาระดับปากมากที่สุด ด้วยเหตุผลที่ต้องเสนอข่าวสาร เหตุการณ์ให้ผู้อ่านรู้สึก ใหม่สอเสมอ ทันข่าว ทันเหตุการณ์ มีความรู้สึกเหมือนอยู่ในเหตุการณ์นั้น อีกทั้งเพื่อให้ผู้อ่านทุกระดับเข้าใจทันที ภาษาปากจึงถูกนำมาใช้มากเพราะเป็นคำพื้น ๆ เข้าใจชัดเจน ภาษาปากได้แก่คำเฉพาะกลุ่ม คำตลาด คำคะนอง สำนวน และคำทับศัพท์ ตัวอย่าง ภาษาระดับปาก 

“อุ้มลูกโดดรถไฟทับ”
“ฝนถล่มทั้งวัน เชียงใหม่ท่วม”
“โผล่ไทยรับบริจาค ลัทธิเพี้ยน คลั่งมนุษย์ต่างดาว”
“สนั่นลั่น ชาวบ้าน 185 เสียง เชือด รตม.ทุจริต”


   3. ใช้ถ้อยคำฟุ่มเฟือย เหตุผลที่ต้องใช้ภาษาเฟือยในภาษาหนังสือพิมพ์ เนื่องจากต้องการขยาย รายละเอียดของข่าวหรือเหตุการณ์ให้ชัดเจน และต้องการให้มีความยาว ของข้อความพอเหมาะ กับเนื้อที่ของกระดาษ

   4. ใช้ถ้อยคำกะทัดรัด ในบางกรณีหากพื้นที่หน้ากระดาษที่จะเสนอข่าวมีจำกัดอย่างเช่น
ส่วนพาดหัวข่าวก็จำเป็นต้องใช้ภาษาที่สั้น กระชับ ชัดเจน
ตัวอย่าง
“ป๋าเหนาะเปิดใจ ทำไมไม่ 'สวน'”
“เป็นงั้นไป แหกโผงออกเสียง 'ภัทรา' อ้างกดปุ่มผิด”
“ซีทีx โพลหอการค้าทั่วประเทศ จี้ รบ. แก้ทุจริต”

  5. ใช้เครื่องหมาย ภาษาหนังสือพิมพ์มีการใช้เครื่องหมายประกอบการเขียนมาก ทั้งเครื่องหมายวรรคตอนและเครื่องหมายอื่น ๆ ที่คิดขึ้นให้สอดคล้องกับข่าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งข้อความ เน้นข้อความสำคัญ แสดงคำเฉพาะ ขึ้นหัวข้อใหม่ เป็นต้น การใช้เครื่องหมายบางครั้งมิได้เป็นไปตามหลักเกณฑ์มากนัก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น