วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

ภาษาไทยในยุคโลกาภิวัฒน์




    ในยุคที่สังคมโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมายและรวดเร็ว ซึ่งเราเรียกยุคนี้ว่ายุคโลกาภิวัฒน์อันเป็นยุคที่สามารถติดต่อสื่อสารกันจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่งได้อย่างง่ายดาย กลุ่มคนบางกลุ่มอาจจะเรียกยุคนี้ว่ายุคโลกไร้พรมแดน เหตุเป็นเพราะว่ามนุษย์มีมันสมองที่จะคิดที่จะพัฒนาสร้างความเจริญให้แก่โลกไม่ว่าจะเป็นเรื่องของดาวเทียม คอมพิวเตอร์ เคเบิลใยแก้ว ซึ่งในแต่ละประเทศนั้นต่างก็มีการประชุมแลกเปลี่ยนศิลปะวิทยาซึ่งกันและกันแล้วในที่สุดผลที่เกิดตามมากับการแลกเปลี่ยนนั้น ก็มาตกกระทบกับรูปแบบของวัฒนธรรมและการใช้ภาษาของอีกสังคมหนึ่งอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

          ประเทศไทยก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว แต่ถึงแม้ว่าทั่วโลกถือเอาภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากล เป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารกันก็ตาม แต่ทำไมเราจึงต้องยินยอมให้ภาษาสากลของโลกเข้ามามีบทบาทในการบั่นทอนความเป็นไทยของเราให้ด้อยค่าลงไปด้วย เป็นเพราะเรารู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือเปล่า หรือเราเข้าใจผิดว่า การพูดภาษาไทยคำอังกฤษคำเป็นเรื่องที่ดูโก้เก๋น่าทึ่งอย่างไรก็ตามเราก็ไม่ปฏิเสธว่าภายใต้กระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคโลกาภิวัฒน์นั้น ย่อมมีความจำเป็นที่จะต้องมีการบัญญัติศัพท์ขึ้นมาใช้ใหม่เพื่อความเหมาะสม และคำบางคำก็ไม่สามารถนำมาแปลเป็นภาษาไทยให้ได้ใจความที่กระทัดรัดได้ แต่ถ้าเราไม่คิดจะทำอะไรเสียบ้างเลย ภาษาไทยของเราก็เห็นจะค่อยๆ เลือนหายไปทีละคำสองคำ

    เมื่อเป็นเช่นนี้จึงมีปัญหาว่า ทำอย่างไรจึงจะสามารถแก้ข้อบกพร่องตรงนี้ได้ เราจะป้องกันไม่ให้ภาษาอื่นเข้ามามีอิทธิพลครอบงำภาษาไทยของเรา ซึ่งแสดงถึงความเป็นไทยได้อย่างไร คำตอบง่ายๆ ก็คือ ถ้าทุกคนภาคภูมิใจในความเป้นคนไทย ก็ต้องพูดภาษาไทย เขียนภาษาไทยให้ถูกต้อง และสำนึกอยู่เสมอว่า ภาษาและตัวอักษรไทยเป็นเครื่องแสดงถึงความเป็นชาติที่มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น